ว่าด้วยเรื่องของศิลปะ เรานึกถึงอะไรบ้าง?
หลายคนคงตอบคล้ายๆ กันใช่ไหมคะว่า ศิลปะคือการวาดรูป คือการจรดพู่กันลงไปบนแคนวาส ไม่ผิดเลยค่ะที่เราจะมองหรือนึกเกี่ยวกับคำว่า ศิลปะ เป็นแบบนั้น วันนี้เราอยากนำเสนอศิลปะในรูปแบบต่างๆ ให้เพื่อนๆ ได้รู้จักเรื่องราวของศิลปะมากขึ้น แท้จริงแล้วนั้นศิลปะอยู่รอบๆ ตัวเราหรือถ้าจะให้พูดคือ เราแทบไม่รู้เลยว่าจริงๆ สิ่งที่เห็นเหล่านี้คือศิลปะแขนงหนึ่ง ประเภทของศิลปะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ วิจิตรศิลป์ (Fine Arts) และ ประยุกต์ศิลป์ (Applied Arts)
วิจิตรศิลป์ (Fine Arts)

ประยุกต์ศิลป์ (Applied Arts)

วันนี้เรามาลงลึกกันในเรื่อง ประยุกต์ศิลป์ Applied Arts รู้สึกคุ้นๆ กับคำนี้ไหมคะ?
ประยุกต์ศิลป์ สามารถแยกคำออกมาได้แบบนี้ค่ะ ประยุกต์คือ ความสามารถในการประยุกต์สิ่งต่างๆ ให้เข้ากับยุคสมัยและเอาไปใช้ได้จริง ศิลป์คือ ศิลปะนั่นเองค่ะ เมื่อเอา 2 คำนี้มารวมกัน ประยุกต์ศิลป์คือการประยุกต์ศิลปะเข้ากับการใช้งานได้จริง ตรงนี้จะแตกต่างกันกับ วิจิตรศิลป์ (Fine Arts) โดยสิ้นเชิง วิจิตรศิลป์เน้นไปที่การทำชิ้นงานออกมาแบบไร้ขีดจำกัด ไม่มีกฏเกณฑ์ใดๆ หรือเกี่ยวข้องกับการใช้งานใดๆ แล้วเราจะมองรู้ได้ยังไงว่าสิ่งไหนเรียกว่า ประยุกต์ศิลป์ (Fine Arts) คำนิยามที่เหมาะสมดูจะเป็น การออกแบบสิ่งที่ดูทันสมัยและสามารถใช้งานได้จริง เช่นการออกแบบตึก เก้าอี้ ตกแต่งภายใน เสื้อผ้า สิ่งพิมพ์ เป็นต้น
ประยุกต์ศิลป์ (Applied Arts) จำแนกได้ 5 ประเภท
- สถาปัตยกรรม (Architecture) หลายๆ คนจะคุ้นเคยและเห็นภาพได้ง่ายมากที่สุด สิ่งที่เป็นตึกราบ้านช่อง อาคารต่างๆ การออกแบบสิ่งแวดล้อมที่เข้ามาผสมผสานให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ดี รวมไปถึงการวางผังเมือง
- ศิลปอุตสาหกรรม (Industrial Design) เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน จำพวกเสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ รถยนต์ ทั้งนี้การผลิตขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีในการผลิต ณ ขณะนั้น
- มัณฑนศิลป์ (Decorative Art) หรือเรียกว่า ศิลปะการตกแต่ง เช่นการตกแต่งภายใน ไม่ว่าจะเป็นตกแต่งภายในบ้าน ภายในอาคารเป็นต้น
- ศิลปหัตถกรรม (Art Crafts) คือการทำด้วยมือ จึงเป็นงานที่ทำออกมาเพื่อใข้งานและได้คุณค่าทางใจ เช่นงานปั้น งานสาน งานทำมือ เป็นต้น
- พาณิชย์ศิลป์ (Commercial Art) การออกแบบเพื่อสนับสนุนการค้าและบริการ เช่นการออกแบบโปสเตอร์ รูปเล่ม หนังสือ ภาพประกอบ การประชาสัมพันธ์ การออกแบบตัวอักษร เช่น คาลิกราฟฟี่ Calligraphy


ในประยุกต์ศิลป์ มีคำหนึ่งซ่อนอยู่ภายใน นั่นคือคำว่า “ออกแบบ” ในการออกแบบนั้น นำมาซึ่งการเกิดคุณค่า ประโยชน์ใช้สอย และควบคู่ไปกับความสวยงามของชิ้นงานนั้นๆ

ความหมายของการออกแบบ อย่างที่ได้กล่าวไปในข้างต้นว่า ศิลปะนั้นอยู่รอบตัวเรา ดังนั้นในชีวิตของเราจะขาดศิลปะและการออกแบบไปไม่ได้เลย และการออกแบบนั้นถูกเชื่อมโยงเข้ากับทุกขณะของการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน ศิลปะนั้นจึงอยู่ในทุกแห่ง ขอเพียงเราเปิดตาและใจมองดูสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา
มุมมองในการออกแบบ เป็นแบบไหนในความคิดหรือความเข้าใจของเราได้บ้าง บางคนว่าเพื่อความสวยงาม ตามจินตนาการ หรือการออกแบบเพื่อการใช้งาน เรามาลงลึกไปอีกนิดกับความหมายของการออกแบบ แท้จริงแล้วสิ่งที่เราให้ความสำคัญกับการออกแบบคือ การออกแบบผลงานโดยไม่เคยมีผู้ใดเคยออกแบบมาก่อน การออกแบบความคิดสร้างสรรค์ที่สดใหม่ ความสนุกในการสร้างสรรค์ชิ้นงาน โดยการนำเอาศิลปะการออกแบบเข้ามา ที่เรามุ่งเน้นในบทความนี้คือ ประยุกต์ศิลป์ (Applied Arts) งานที่ออกมาจึงมีองค์ประกอบของศิลปะเข้ามาผสมผสาน ทั้งเรื่องของการตกกระทบของแสง เงา และสีที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวของสิ่งนั้นๆ โดยปรกติแล้วเราจะมองเห็นภาพเป็นแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นว่าเราจะแยกออกได้อย่างไร ระหว่าง 2 มิติ และ 3 มิติ
2 มิติ คือภาพที่เราเห็นแค่ด้านเดียว มองไม่เห็นส่วนมุม แสง และเงา
- 2 มิติ คือภาพที่เราเห็นแค่ด้านเดียว มองไม่เห็นส่วนมุม แสง และเงา
- 3 มิติ เราสามารถมองเห็นรูปทรง แสง เงา และสีได้อย่างชัดเจน


เพื่อนๆ เคยสังเกตุไหมคะว่า ตึกที่เรามองเห็นนั้นเป็นศิลปะของการออกแบบอย่างหนึ่ง เพราะว่าเวลาที่เรามองตึกเดียวกันในตอนเช้า กลางวัน เย็น หรือเวลาค่ำ ตึกเดียวกันแต่ให้ความรู้สึกต่างกัน เป็นคำอธิบายได้อย่างชัดเจนว่า เป็นการนำศิลปะทั้งจากธรรมชาติและการออกแบบมาผสมผสานให้เกิดชิ้นงาน ประโยชน์ใช้สอย รวมไปถึงความสวยงาม และไม่น่าเชื่อเลยค่ะว่า สิ่งที่ซ่อนอยู่ภายใต้การผลิตผลงานชิ้นนึง จะมีส่วนสำคัญในการสร้าง ความหวัง ความฝัน และแรงบันดาลใจให้คนมากมาย
ความแตกต่างของแสง เงา และสีในช่วงแต่ล่ะเวลา

สรุปแล้ว ประยุกต์ศิลป์นั้นคืออะไร
สุดท้ายนี้วิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์แตกต่างกันสุดตัว รวมถึงการใช้งานที่แตกต่างกัน แต่ไม่ได้หมายความว่า ประยุกต์ศิลป์จะไม่ได้มีความคิดสร้างสรรค์แทรกอยู่ การถ่ายทอดความคิด เป้าหมาย ที่ทำให้เกิดคุณค่าในการใช้สอย ปรับปรุงผลงานให้มีคุณค่ามากขึ้น ใดใดแล้วศิลปะไม่อาจแยกจากการสร้างสรรค์และสรรสร้างได้ งานออกแบบนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่ของผู้คน ได้อย่างที่เราไม่อาจคาดคิด ขอให้เราอยู่ในความสวยงามของงานศิลปะสืบไป เพราะศิลปะนั้นสามารถเร้าโลมจิตใจเราได้ดีทีเดียว